top of page
ค้นหา

กายภาพบำบัดกับการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า

อัปเดตเมื่อ 11 ธ.ค. 2565


คุณรู้สึกไหมว่า "เราได้ยินคนใกล้ชิดรอบๆตัวเราเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น” หลายคนออกมาบอกเล่าประสบการณ์และอาการที่ได้เจอ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการ แต่ลังเลไม่แน่ใจว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเหล่านี้หรือไม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเข้าสู่กระบวนการรักษา


ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายทางขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละท่าน หากปล่อยโรคนี้ไว้นานจนเรื้อรัง การรักษาก็จะยิ่งซับซ้อนและยากมากขึ้น ซึ่งหากไม่ทันท่วงที อาจนำไปสู่สิ่งที่แพทย์ทุกคนไม่อยากให้เกิด คือ ความคิดในการฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้ป่วยหลายรายมีแนวโน้มทำความคิดเหล่านี้ให้สำเร็จในที่สุด


ดังนั้นการรักษาให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการเป็นกลับซ้ำในภาวะเรื้อรังและความซับซ้อนของตัวโรคที่จะทำให้การรักษานั้นยากขึ้นไปอีก แต่แทบจะไม่มีคนทราบเลยว่า กลุ่มคนไข้โรคซึมเศร้านั้น จากการศึกษาจากงานวิจัยหลากหลายฉบับพบว่ามีอาการเจ็บปวดทางกายร่วมด้วยกว่า 70%


หมายความว่า ถ้าในรพ.มีคนไข้ 100 คน เกือบ 70 จะแจ้งกับแพทย์ว่า มีอาการปวดทรมานตามร่างกายร่วมด้วย ซึ่งการศึกษาพบว่า ตำแหน่งในการปวดที่พบได้บ่อยที่สุดของคนไข้คือ ปวดหลัง, ปวดคอปวดบ่า, และปวดกล้ามเนื้อและกระดูกส่วนอื่นๆ จึงไม่แปลกที่ทางการแพทย์ให้ความสำคัญกับอาการปวด จนตั้งเป็น The fifth vital signs คือ สัญญาณชีพลำดับที่ 5 (ต่อจาก อุณหภูมิ, ความดันโลหิต, ชีพจร, และอัตราการหายใจ)


การศึกษาอีกหลายงานยังยืนยันอีกว่า โรคซึมเศร้าและอาการเจ็บปวดมีเส้นทางของกระแสประสาทร่วมกัน(Depression-pain syndrome หรือ Depression-pain dyad) เราจึงสังเกตได้ว่า บางครั้งมีการนำยาเกี่ยวกับโรคจิตเวชมาใช้รักษาอาการปวดได้เช่นกัน


จากองค์ความรู้ทั้งหมดเหล่านี้ แพทย์และนักวิจัยจึงเห็นพ้องต้องกันที่จะให้คำแนะนำสำหรับ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า หากมีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะนอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเองแย่ลง และยังส่งผลต่อการรักษาโรคซึมเศร้าให้หายได้ช้าลง ไม่เพียงกระทบต่อการทำงานกิจวัตรต่างๆของคุณ ยังทำให้การรักษาในระยะยาวนั้นยากและซับซ้อนขึ้นไปอีกอย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้


กายภาพบำบัด จึงเป็นอีกทางเลือกการรักษา ที่ได้รับการยอมรับและส่งต่อผู้ป่วยจากจิตแพทย์ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และรักษาควบคู่ไปกับวิธีการอื่นๆ ซึ่งควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และสอดคล้องกับวิธีการรักษาของจิตแพทย์เจ้าของไข้

ลาบาลอง สหคลินิกเวชกรรมและกายภาพบำบัด

- เบิกประกันกลุ่ม และ opd ได้ (สอบถามการรักษาภายใต้เงื่อนไขการเบิกก่อนเข้ารับบริการ)

- สามารถติดต่อจองบริการรักษาได้ทั้งช่องทาง Facebook messenger https://m.me/labalance.co , line OA : @labalance หรือโทร 062-959-9296 ในวันและเวลาทำการ

Our services

- We offer pre-paid terms with treatment documentation for insurance claims to patients with Group Health Insurance and Outpatient Department (OPD).

- You can make a reservation through Facebook Messenger https://m.me/labalance.co , line OA : @labalance or by calling 062-959-9296 during business hours.

- We speak Thai, English, Myanmar, Chinese(booking with special request only) and Arabic (booking with special request only)


bottom of page